Timer Relay มักจะถูกนำมาใช้ในวงจรไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีการตั้งเวลาในการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ ที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ มักจะอยู่ในวงจร สตาร์ – เดลต้า
|
การต่อสาย Timer Relay |
|
Timer Relay |
☺หลักการทำงานของ Timer Relay☺
เมื่อจ่ายไฟเข้าขา 2 (L) กับขา 7 (N) Timer Relay จะเริ่มทำงานทันทีและจะเริ่มหน่วงเวลาตามที่ตั้งไว้ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดหน้าคอนแทคของ Timer Relay จะเปลี่ยนสถานะทันทีจะทำงานค้างไว้จนกว่าจะหยุดจ่ายไฟให้กับ Timer Relay
ตัวอย่างวงจรไฟฟ้าที่ใช้ Timer Relay ควบคุม |
|
Timer Relay |
☺อธิบายการทำงาน☺
เมื่อยกเบรกเกอร์ CB1 กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่าน TM1 จะเริ่มนับเวลาตามที่ตั้งไว้ทันที (10 sec.) กระแสไฟฟ้าไหลผ่านหน้าคอนแทคปิดของ TM1 ทำให้ LAMP2 ทำงาน เมื่อเวลาผ่านไป 10 sec. แล้ว หน้าคอนแทคเปิดของ TM1 จะต่อวงจรทันที ทำให้ LAMP1 ทำงานในขณะเดียวกัน LAMP2 ก็จะหยุดทำงานเช่นกันเพราะหน้าคอนแทคปิดของ TM1 เปลี่ยนสถานะเป็นตอนแทคเปิดนั่นเอง และจะทำงานค้างไว้แบบนี้จนกว่าจะหยุดจ่ายไฟให้กับ Timer Relay
|
Timer Relay |
|
Timer Relay |
|
Timer Relay |